Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

เพราะลูกน้อยคือดวงใจ พัฒนาการแต่ละวัยจึงสำคัญ

14 ก.ย. 2566


   เมื่อลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลก สิ่งที่พ่อแม่อยากรู้คงไม่พ้น แต่ละเดือนลูกมีพัฒนาการอย่างไร ลูกเราจะมีพัฒนาการช้ากว่าลูกบ้านอื่นไหม อยากให้ลูกมีพัฒนาการเด็กที่ดี ควรดูแลส่งเสริมพัฒนาการกันอย่างไร วันนี้เรานำข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทารกช่วงแรกเกิดจนถึงอายุ 1 ปี มาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

แรกเกิด

ด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย

  • งอแขน ขา และเคลื่อนไหวเท่ากัน 2 ข้าง ในท่านอนคว่ำ

ด้านการใช้สายตาและมือ

  • มองเห็นชัดเฉพาะระยะ 8 – 9 นิ้ว

ด้านการสื่อความหมายและภาษา

  • ร้อง และหยุดฟังเสียง

ด้านการช่วยเหลือตนเอง

  • มองหน้าได้ในระยะเวลาสั้นๆ
  • ทำการเลียนแบบ อ้าปาก หรือแลบลิ้นได้

1 เดือน

ด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย

  • เริ่มชันคอ ผงกศีรษะ หันหน้าซ้ายขวา
  • ขาเริ่มเหยียดในท่าคว่ำ

ด้านการใช้สายตาและมือ

  • กำมือแน่น
  • จ้องมองสิ่งต่างๆ สามารถมองตามได้ไม่เกินเส้นกึ่งกลางของตัว

ด้านการสื่อความหมายและภาษา

  • เริ่มทำเสียงในลำคอ

ด้านการช่วยเหลือตนเอง

  • มองจ้องหน้า

2 เดือน

ด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย

  • ในท่าคว่ำจะสามารถชันคอได้ 45 องศา
  • ในท่านั่งจะสามารถยกศีรษะเงยหน้าขึ้นได้

ด้านการใช้สายตาและมือ

  • มือกำหลวมๆ
  • เริ่มมองตามข้ามเส้นกึ่งกลางของตัว

ด้านการสื่อความหมายและภาษา

  • เริ่มฟังเสียงที่มีคนพูดคุยด้วย และรู้จักหันหาเสียง

ด้านการช่วยเหลือตนเอง

  • สบตา
  • ยิ้มตอบแสดงความสนใจ

4 เดือน

ด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย

  • ในท่าคว่ำสามารถยกศีรษะขึ้นสูงได้ และชันคอได้ 90 องศา

ด้านการใช้สายตาและมือ

  • มองตาม 180 องศา
  • นำมือ2ข้างมาจับกันตรงกลาง
  • คว้าสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว
  • ใช้สองตาประสานกันได้ดี

ด้านการสื่อความหมายและภาษา

  • ส่งเสียงอ้อแอ้
  • โต้ตอบหัวเราะ
  • ส่งเสียงแหลมรัวเวลาดีใจ หรือสนุก

ด้านการช่วยเหลือตนเอง

  • ยิ้มตอบและยิ้มทัก
  • ทำท่าทางดีใจเวลาเห็นอาหารหรือคนเลี้ยงดู

6 เดือน

ด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย

  • สามารถคว่ำและหงายได้เอง
  • ในท่าคว่ำสามารถใช้ข้อมือยันได้
  • เมื่ออยากให้นั่ง สามารถดึงจากท่านอนหงายมาเป็นท่านั่งได้โดยศีรษะไม่ตกไปข้างหลัง
  • นั่งเองได้ชั่วครู่
  • ในท่าจับยืน เริ่มลงน้ำหนักที่เท้าทั้ง 2 ได้

ด้านการใช้สายตาและมือ

  • คว้าของด้วยฝ่ามือ หยิบของมือเดียว และเปลี่ยนมือได้
  • มองเห็นได้ทั้งระยะไกลและใกล้

ด้านการสื่อความหมายและภาษา

  • หันหาเสียงเรียก
  • เล่นน้ำลาย
  • ส่งเสียงหลายเสียง

ด้านการช่วยเหลือตนเอง

  • เริ่มมีอาการแปลกหน้ากับคนไม่คุ้นเคย
  • กินอาหารบด (semisolid) ที่ป้อนด้วยช้อนได้

9 เดือน

ด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย

  • นั่งได้มั่นคง
  • คลาน
  • เกาะยืน

ด้านการใช้สายตาและมือ

  • เริ่มหยิบของเล็กโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้
  • เปิดหาของที่ซ่อนไว้ได้
  • มองตามของที่ตกจากมือ

ด้านการสื่อความหมายและภาษา

  • ฟังรู้ภาษาและเข้าใจสีหน้าท่าทางได้
  • เปล่งเสียง เลียนเสียงพยัญชนะแต่ไม่มีความหมาย

ด้านการช่วยเหลือตนเอง

  • เล่นจ๊ะเอ๋ได้
  • ตามไปเก็บของที่ตก
  • ร้องตามแม่หรือคนใกล้ชิดเมื่อจะออกไปข้างนอก
  • หยิบอาหารกินเองได้

12 เดือน

ด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย

  • เกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ และอาจกางแขนขาเพื่อช่วยในการทรงตัว

ด้านการใช้สายตาและมือ

  • ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบของเล็กๆได้ถนัด
  • สามารถหยิบของใส่ถ้วยหรือกล่องได้

ด้านการสื่อความหมายและภาษา

  • เรียกพ่อ แม่ หรือพูดเป็นคำโดดที่มีความหมาย 1 คำ
  • ทำท่าตามคำสั่งที่มีท่าทางประกอบ เช่น สวัสดี บายบายได้

ด้านการช่วยเหลือตนเอง

  • ตบมือ เลียนท่าทางโบกมือ สาธุ
  • ให้ความร่วมมือเวลาแต่งตัวและชอบสำรวจ

   ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลพัฒนาการตามวัย หากข้อใดที่ลูกน้อยยังไม่สามารถทำได้ อาจเป็นเพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไปได้ อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ผู้ปกครองควรส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกน้อยได้มีพัฒนาการที่ดีตามช่วงวัย

สนับสนุนข้อมูลโดย : พญ. จิตตินันท์ ชิ้นปิ่นเกลียว แพทย์เฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์พัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ ศูนย์พัฒนาการเด็ก


Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.